คำอธิบาย
คุณสมบัติเด่น
เซซามิน (sesamin) เป็นสารลิกแนน (lignans) ชนิดหนึ่ง พบมากในงาดำ เป็นสารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่ป้องกันตัวเองจากศัตรูพืช สารเซซามินมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน ลดคอเลสเตอรอล ช่วยเสริมประสิทธิภาพของ วิตามินอี มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงและยังมีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ( anti – inflammatory effect ) ได้ทุกชนิด ตั้งแต่การอักเสบของกระดูก การอักเสบของตับ ปอด และอื่นๆ
Lignans ถูกเผาผลาญในลำไส้ของมนุษย์โดยแบคทีเรียที่เป็นมิตรและถูกดูดซึมและไหลเวียนในกระแสเลือด” Sari Greaves, RD และโฆษกของ American Dietetic Association อธิบาย “พวกมันออกแรงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถลดคอเลสเตอรอล LDL (ชนิด ‘ไม่ดี’) อาจป้องกันมะเร็งบางชนิด (เต้านมและลำไส้ใหญ่) และสามารถช่วยเพิ่มการทำงานของสมองได้”
การรับประทานงาดำเพราะเชื่อในคุณประโยชน์ทางสุขภาพ เช่น รักษาเบาหวาน อัลไซเมอร์ มะเร็ง ข้อเข่าอักเสบ กระดูกเสื่อม วัยทอง ภาวะมีบุตรยาก ลดระดับคอเลสเตอรอล ลดน้ำหนัก บรรเทาอาการปวด ท้องผูก ป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนน้ำมันงานั้นถูกนำมาใช้ทาเพื่อชะลอความเสื่อมโทรมของผิวหนัง รักษาผมร่วง คลายความกังวล ฯลฯ
ปริมาณที่ควรได้รับจากสารเซซามิน
สำหรับปริมาณของสารเซซามินที่ควรได้รับต่อวันนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์ของปริมาณสารเซซามินที่ควรได้รับอย่างเเน่ชัด แต่อย่างไรก็ตามก็มีผลการศึกษาวิจัยหลายฉบับทั้งในและต่างประเทศหลายฉบับได้ศึกษาถึงความเป็นพิษของเซซามิน พบว่ามีความเป็นพิษต่ำมาก นอกจากนี้ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยยังได้กำหนดให้งาซึ่งเป็นแหล่งของเซซามินเป็นพืชที่สามารถใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้โดยได้กำหนดให้ส่วนของเมล็ดที่ผ่านกรรมวิธีการบดผง บีบอัด(น้ำมัน) หรือสกัดด้วยน้ำและประกอบไปด้วยกรดไขมัน กรดไลโนเลอิก กรดนิลมิติก กรดไอเออิกและเซซามิน ต้องให้มีปริมาณโปรตีนไม่เกิน 50 กรัม/วัน
มีการศึกษาเกี่ยวกับเซซามินในมนุษย์อย่างจำกัด แต่ปรากฏว่าการบริโภคเซซามินทางปากประมาณ 100-150 มก. ก็เพียงพอที่จะเพิ่มปริมาณเซซามินในร่างกายให้อยู่ในระดับที่สามารถรักษาวิตามินอีในร่างกายได้ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทางอ้อมนี้อาจเป็นเหตุผลในทางปฏิบัติมากที่สุดในอาหารเสริมเซซามิน
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
สำหรับผู้ที่ต้องการได้รับ เซซามินโดยการรับประทานงาควรระมัดระวังในผู้ที่แพ้งาและพืชตระกูลงา รวมถึงไม่ควรรับประทานมากจนเกินไปเพราะมีแคลอรีสูง (100 กรัม ให้พลังงาน 700 แคลอรี่) และผู้ที่เป็นโรค Wilsam’s disease ไม่ควรรับประทานงาดำ เพราะมีปริมาณทองแดงค่อนข้างสูง ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ร่างกายขับทองแดงค่อนข้างยาก และจะทำให้มีอาการข้างเคียงได้ นอกจากนี้ถึงแม้ว่าจะมีรายงานการศึกษาวิจัยต่างๆ สนับสนุนว่า เซซามินมีประโยชน์กับร่างกายหลายๆด้าน แต่ในการรับประทานก็ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์และขนาดการรับประทาน หรือปริมาณที่ควรได้รับต่อวันอย่างแน่ชัด ดังนั้นในผู้ป่วยโรคต่างๆ ก่อนจะรับประทานเซซามินในรูปแบบเมล็ดงาต่างๆ (นอกเหนือจากรับประทานในรูปแบบเมล็ดงาต่างๆ) ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
ข้อแนะนำในการใช้งาดำและงาขาว
ก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจและระมัดระวังเป็นพิเศษหากอยู่ในภาวะต่อไปนี้
- หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรสามารถรับประทานงาดำและงาขาวได้อย่างค่อนข้างปลอดภัยเมื่อได้รับในปริมาณปกติจากอาหาร แต่ไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อรักษาโรคชนิดใด ๆ เพราะยังไม่มีข้อมูลน่าเชื่อถือรับรองความปลอดภัย
- เด็ก ๆ เองรับประทานงาดำและงาขาวที่พบในอาหารปกติได้โดยไม่น่าจะเป็นอันตรายใด ๆ ส่วนการใช้เพื่อรักษาโรคบางชนิด เช่น อาการ ไอ อาจปลอดภัยหากใช้เพียงช่วงสั้น ๆ โดยให้รับประทานน้ำมันงา 5 มิลลิลิตรก่อนนอนติดต่อกันไม่เกิน 3 วัน
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรระมัดระวังการรับประทานงาดำและงาขาว เพราะอาจส่งผลให้ระดับของน้ำตาลในเลือดต่ำเกินพอดี
- การรับประทานงาดำและงาขาวอาจทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำเกินไปในผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำอยู่แล้ว
- เนื่องจากงาดำและงาขาวอาจส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดขณะผ่าตัดหรือหลังจากรับการผ่าตัดแล้ว ก่อนเข้ารับการผ่าตัดใด ๆ จึงควรหยุดรับประทานงาดำในฐานะอาหารเพื่อรักษาโรคบางชนิดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
ความเสี่ยง/การตรวจสอบที่เกี่ยวข้อง: แม้ว่าจะมีรายงานที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับประโยชน์ของเซซามิน แต่ก็มีการสังเกตผลข้างเคียงหรือผลกระทบด้านลบของเซซามินน้อยมากในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญบางคนแสดงความกังวลว่าจำเป็นต้องใช้เซซามินในปริมาณมากเพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์ต่อสุขภาพ มีรายงานการแพ้เซซามินแม้ว่าจะพบได้ยากก็ตาม เช่นเดียวกับอาหารเสริมอื่น ๆ เซซามินไม่ได้ควบคุมโดย FDA คำแนะนำในการใช้ยาไม่สอดคล้องกันในทุกยี่ห้อและประสิทธิภาพจะแตกต่างกันไป